วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

เตรียมพร้อมก่อนเริ่มเขียน HTML



                โดยทั่วไปแล้ว HTML นั้นไม่มีอะไรมากไปกว่าไฟล์ตัวอักษรทั่วๆไป เราสามารถเขียนมันขึ้นมาได้โดยใช้เพียงโปรแกรมสร้างตัวอักษรธรรมดาทั่วไปเท่านั้น ในการเริ่มเขียน HTML แบบเริ่มต้นนั้น เราควรใช้โปรแกรมง่ายๆเพื่อให้เราสามารถเข้าใจพื้นฐานของการเขียนภาษา HTML เสียก่อน

                หลายคนอาจพูดถึงโปรแกรมซอฟแวร์สำหรับเขียนเว็บโดยเฉพาะ เช่น Dreamweaver หรือ FrontPage สำหรับผู้ที่เริ่มเรียนรู้ที่จะเขียนภาษา HTML โปรแกรมเขียน HTML เช่นนี้ไม่เหมาะสมสำหรับมือใหม่ เพราะจะทำให้เราขาดความเข้าใจในพื้นฐานเบื้องต้นของ HTML ได้ ความเข้าใจเบื้องต้นในการเขียน HTML ถือเป็นสิ่งสำคัญ

                เพื่อที่จะเริ่มเขียน HTML เราจำเป็นต้องมีโปรแกรม 2 อย่าง
                                                                                                                                                                                                     
                โปรแกรมสำหรับพิมพ์ตัวอักษรและโปรแกรมเว็บบราวเซอร์                                                                                 
                                                                                                                                                                                                    
                 Notepad เป็นโปรแกรมสร้างข้อความโดยจะปรากฏอยู่ในทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดว์ สามารถหาได้จาก Start > Programs > Accessories สำหรับใน Mac OS X สามารถใช้ TextEdit ได้ แต่ไม่ว่าโปรแกรมใดก็ไม่มีความสำคัญ โปรแกรมสร้างตัวอักษรและข้อความใดๆก็สามารถใช้งานได้ทั้งสิ้น



                Internet Explorer เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์หรือโปรแกรมท่องเน็ต ในการเขียน HTML เราจำเป็นต้องใช้โปรแกรมประเภทนี้ในการเปิดดูไฟล์ HTML ที่เราทำการเขียนขึ้นนั่นเอง สามารถใช้โปรแกรมใดก็ได้ตามแต่สะดวก Internet Explorer Firefox หรือ Google Chrome ฯลฯ


                เพียงเท่านี้ก็พร้อมสำหรับเริ่มต้นเขียน HTML แล้ว                                                                                               


วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

เริ่มต้นเขียน HTML



                เริ่มต้นด้วยการเขียน HTML แบบพื้นๆเพื่อให้เราเคยชินกับเครื่องมือนี้ เปิดโปรแกรม Notepad หรือโปรแกรมเขียนข้อความอะไรก็ได้ขึ้นมา สิ่งที่เราจะเห็นในตอนนี้ก็คือหน้าเปล่าที่ไม่มีอะไรเลย พิมพ์สิ่งเหล่านี้ ลงไปหน้าเปล่าของโปรแกรม Notepad นั้น
 


                                                                                                                                                                               
                my first web page !                                                                                                                             
                                                                                                                                                                               


                จากนั้นให้เราทำการบันทึกไฟล์นี้โดยการไปที่เมนู File แล้วเลือก Save As… โดยทั่วไปแล้ว นามสกุลของไฟล์จะถูกกำหนดเป็นค่าตั้งต้นไว้เป็น .txt ซึ่งเราไม่ต้องการบันทึกไฟล์นี้ให้เป็นไฟล์แบบ Text ทั่วไป ดังนั้นให้เราทำการเปลี่ยนนามสกุลไฟล์นั้น โดยการตั้งชื่อและเปลี่ยนนามสกุลเป็น test.html

 


                บันทึกไฟล์ไว้ที่ไหนก็ได้ตามแต่สะดวก จากนั้นเปิดโปรแกรมบราวเซอร์ขึ้นมาแล้วเปิดที่เราได้ทำการบันทึกไว้ในนามสกุล .html ก่อนหน้านี้ จะเปิดโดยการใช้เมนู File > Open จากเว็บบราวเซอร์เลย หรือ จะเปิดจากการคลิดขวาที่ไฟล์ test.html แล้วเลือก Open with… ก็ได้เช่นกัน




                สิ่งที่แสดงอยู่บนหน้าจอโปรแกรมท่องเว็บก็คือเว็บเพจอันแรกของคุณนั่นเอง

                ต่อจากนี้ไป เราจะให้วิธีการนี้ในการเปิดดู “ผลลัพธ์” ในการเขียน HTML ของเรา ไม่ว่าเราจะเขียนภาษา HTML อะไรลงไปใน Notepad เราสามารถใช้วิธีการนี้ในการแสดงผลของภาษา HTML ที่เราได้เขียนลงไปว่ามันจะแสดงผลออกมาเป็นเช่นไร


วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

รูปแบบทั่วไปของแท็กใน HTML


                เราจะเริ่มทำการเรียนรู้จาก “Tags” ซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของการเขียนภาษา HTML แท็กคือตัวคำสั่งที่ใช้ระบุรูปแบบการแสดงผลของภาษา HTML ของเรา ความสามารถของแท็กก็ล้วนแตกต่างกันออกไป เราจะมาเริ่มทำความเข้าใจกับการจัดรูปแบบของแท็กก่อน

                รูปแบบของ “แท็ก” จะเริ่มต้นด้วย “เครื่องหมายน้อยกว่า” และปิดด้วย “เครื่องหมายมากกว่า”

                ยกตัวอย่าง แท็กสำหรับใช้ขีดเส้นใต้ข้อความ คือ <u>

                เราจะต้องใส่แท็ก <u> นี้ลงไปด้านหน้าข้อความที่เราต้องการขีดเส้นใต้ เราเรียกแท็กนี้ว่าเป็น “แท็กเปิด” เพื่อที่จะให้การขีดเส้นใต้ข้อความสิ้นสุดลง เราจะต้องใส่สิ่งที่เรียกว่า “แท็กปิด” หลังข้อความที่ต้องการ โดยลักษณะของแท็กปิดท้ายนี้จะมีรูปร่างเหมือนกับแท็กเปิด เพียงแต่จะมี “เครื่องหมายทับ” อยู่ด้านหน้าคำสั่งในแท็ก

                ยกตัวอย่าง แท็กปิดสำหรับขีดเส้นใต้ข้อความ คือ </u>

                ดังนั้น หากเราต้องการสร้างแท็กเพื่อขีดเส้นใต้ข้อความที่เราต้องการ เราจำเป็นต้องพิมพ์ข้อความลงในโปรแกรมสร้างข้อความและใส่แท็กดังตัวอย่างด้านล่าง รวมทั้งบันทึกเป็นไฟล์ .html เพื่อให้แสดงผลเป็นภาษา HTML ด้วย

                                                                                                                                                                               
                <u>Underline Me !</u>                                                                                                                    
                                                                                                                                                                               

                การแสดงผลใน HTML จะเป็นดังนี้

                                                                                                                                                                               
                Underline Me !                                                                                                                                    
                                                                                                                                                                               

                อย่างไรก็ตาม แท็กทุกแท็กไม่จำเป็นต้องมีแท็กปิดเสมอไป เช่น Line Break <br> และ Horizontal Rule <hr> เราเรียกแท็กชนิดว่าเป็น “แท็กเปล่า” ซึ่งมันเป็นแท็กที่ไม่จำเป็นต้องมีแท็กปิด แต่ตามมาตรฐานของภาษา HTML ในปัจจุบัน แท็กเหล่านี้จำเป็นต้องมีแท็กปิด ดังนั้นแล้ว แท็กเปล่าจึงมีแท็กปิดรวมอยู่ในตัวของมันอยู่ด้วยโดยมีการเพิ่ม “เครื่องหมายทับ” ลงไปในแท็กเปล่า ดังตัวอย่างด้านล่าง

                                                                                                                                                                               
                <br />                                                                                                                                                    
                <hr />                                                                                                                                                    
                <img src=”image.gif” />                                                                                                                   
                                                                                                                                                                               

                การใช้ตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวพิมพ์เล็กในแท็กจะไม่มีผลต่อคำสั่งของแท็กแต่ประการใด แท็ก <U> จะยังให้การแสดงผลเหมือนกับแท็ก <u> เช่นเดิม รวมไปถึง “การเว้นวรรค” จะไม่มีการแสดงผลในภาษา HTML เช่น

                                                                                                                                                                               
                <u>        Underline Me !     </u>                                                                                                      
                                                                                                                                                                               

                หรือ

                                                                                                                                                                               
                <u>                                                                                                                                                       
                Underline Me !                                                                                                                                    
                </u>                                                                                                                                                      
                                                                                                                                                                               

                จะไม่มีความแตกต่างไปจาก

                                                                                                                                                                               
                <u>Underline Me !</u>