CPU/Processor
The Central Processing Unit หรือ CPU ในบางครั้งอาจเรียกว่า “หน่วยประมวลผล (Processor)” เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ภายในคอมพิวเตอร์เคส ตรงบริเวณเมนบอร์ด
ส่วนนี้มักเปรียบเสมือนกับ “สมอง” ของคอมพิวเตอร์ หน้าที่ของมันคือรับคำสั่งต่างๆจากผู้ใช้งาน
ไม่ว่าเราจะทำการพิมพ์อะไรลงบนคีย์บอร์ดหรอคลิกเมาส์ไปที่อะไร
คำสั่งเหล่านั้นจะถูกนำมายังหน่วยประมวลผลกลางนี้ทั้งสิ้น
CPU โดยทั่วไปแล้วมีขนาดประมาณ
2 ตารางนิ้ว ทำขึ้นจากเซรามิคและซิลิโคนชิพที่อยู่ภายใน
โดยชิพที่ว่านี้จะมีขนาดประมาณหัวแม่มือเท่านั้น CPU จะถูกใส่ไว้ในตำแหน่งของช่องสำหรับ
CPU ในเมนบอร์ด โดยจะมีสิ่งที่เรียกว่า “พัดลม”
ของซีพียูปิดไว้ด้านบนเพื่อทำหน้าที่คลายความร้อนให้กับ CPU
ในระหว่างที่มันกำลังทำงานอยู่
ความเร็วของหน่วยประมวลผลจะวัดออกมาเป็นค่าของ
“เมกาเฮิร์ตซ์ (MHz)” หรือ “ล้านคำสั่งต่อวินาที” และ “กิกะเฮิร์ตซ์ (GHz)” หรือ “พันล้านคำสั่งต่อวินาที”
หน่วยประมวลผลที่มีความเร็วสูงจะช่วยให้สามารถทำงานสำเร็จได้เร็วมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม
ความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับหน่วยประมวลผลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ปัจจุบันนี้มี CPU สำหรับใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์มากมายหลายรูปแบบ
แต่ที่รู้จักและนิยมมากที่สุดก็คือ Intel กับ AMD
Mainboard
เมนบอร์ดคือแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์นั่นเอง
มันมีลักษณะเป็นแผ่นกว้างโดยประกอบไปด้วย CPU หน่วยความจำ
ตัวเชื่อมต่อสำหรับฮาร์ดดิสก์และไดรฟ์อื่นๆ การ์ดเสียงและการ์ดจอ
อีกทั้งยังเป็นตำแหน่งของพอร์ตต่างๆที่เชื่อมต่อกันอยู่ทั้งหมด
เมนบอร์ดจะทำการเชื่อมต่อส่วนภายในต่างๆของคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันทั้งหมด
Power
Supply Unit
ตัวจ่ายพลังงานนี้จะทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงกระแสไฟจากแบบทั่วไปเป็นกระแสไฟแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถใช้ในการทำงาน
ตัวจ่ายพลังงานจะทำการส่งกระแสไฟผ่านไปตามสายไฟเล็กๆไปยังเมนบอร์ดและส่วนอื่นๆของคอมพิวเตอร์
RAM
(Random Access Memory)
RAM
เป็นหน่วยความจำระยะสั้นสำหรับคอมพิวเตอร์ของเรา
เมื่อใดก็ตามที่คอมพิวเตอร์ของเราทำการประมวลผลคำนวณอะไรใดๆ
มันจะใช้สิ่งที่เรียกว่า RAM ในการจัดเก็บกระบวนการต่างๆในระหว่างการกระทำนั้นๆ
หน่วยความจำระยะสั้นนี้จะหายไปเมื่อเราทำการปิดคอมพิวเตอร์ของเราลง
หากว่าเรากำลังทำงานอยู่กับไฟล์เอกสาร
เราจำเป็นที่จะต้องทำการบันทึกไฟล์งานนั้นๆไว้เพื่อป้องกันการสูญหาย
เมื่อเราทำการเซฟไฟล์ ไฟล์ที่ได้รับการบันทึกนั้นจะถูกจัดเก็บไว้ภายใน “ฮาร์ดดิสก์”
ซึ่งเป็นหน่วยความจำระยะยาว
RAM
จะมีการแสดงปริมาณแบบ เมกาไบท์ (MB) หรือ กิกะไบท์ (GB) ยิ่งเรามี RAM ติดตั้งอยู่ในตัวเครื่องมากเท่าใด
คอมพิวเตอร์ของเราก็ยิ่งประมวลคำสั่งได้หลายคำสั่งในคราวเดียวมากขึ้น หากว่าเรามี RAM ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของคอมพิวเตอร์
เราสามารถสังเกตได้จากการเปิดโปรแกรมหลายๆโปรแกรมในเวลาเดียวกัน
เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรามักจะทำงานไม่ราบรื่นดีเท่าที่ควร ดังนั้น
ผู้คนส่วนมักจึงมักนิยมเพิ่ม RAM
เข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน
Hard
Drive
ฮาร์ดดิสก์เปรียบเสมือน
“ศูนย์กลางข้อมูล” ของคอมพิวเตอร์ มันเป็นที่ที่ซอฟแวร์มากมายถูกติดตั้งไว้
รวมทั้งเป็นที่ที่เราใช้ในการัดเก็บข้อมูลต่างๆของเราไว้ด้วย ฮาร์ดดิสก์เป็นหน่วยความจำระยะยาว
นั่นหมายความว่า ข้อมูลที่เราทำการบันทึกไว้ภายในฮาร์ดดิสก์นี้จะไม่มีวันหายไปแม้ว่าเราจะทำการปิดคอมพิวเตอร์ไปแล้วก็ตาม
เมื่อเราทำการเปิดโปรแกรมหรือไฟล์ใดๆ
คอมพิวเตอร์ของเราจะทำการคัดลอกสำเนาของข้อมูลเหล่านั้นไปยังส่วนของ RAM เพื่อทำการประมวลผล และเมื่อเราทำการบันทึกไฟล์อีกครั้ง
คอมพิวเตอร์จะทำการส่งไฟล์ที่ทำการบันทึกกลับไปยังฮาร์ดดิสก์อีกครั้งหนึ่ง
ความเร็วของฮาร์ดดิสก์ยิ่งมีมากเท่าไหร่ยิ่งส่งผลต่อการทำงานของโปรแกรมและการโหลดโปรแกรมได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น
Expansion
Cards
คอมพิวเตอร์โดยทั่วไปแล้วมักจะมีช่องขยายอยู่ภายในเมนบอร์ดที่ช่วยให้เราสามารถเพิ่มการ์ดขยายเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
ในบางครั้ง การ์ดขยายเหล่านี้มักมีชื่อเรียกหรูๆว่า PCI หรือ Peripheral Component Interconnect โดยทั่วไปแล้ว
เราอาจไม่จำเป็นต้องติดตั้ง PCI การ์ดเหล่านี้ให้วุ่นวาย
เพราะคอมพิวเตอร์ที่เราทำการซื้อมานั้นจะมาแบบครบครันอยู่แล้ว โดยมีทั้งการ์ดจอ
การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค และอื่นๆอีก
แต่ถ้าหากว่าเราต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ของเรา เราอาจจะเพิ่มการ์ดขยายเข้าไปได้ตามความต้องการเสมอ
Video Card – บ้านเราเรียกว่า
“การ์ดจอ”
ซึ่งการ์ดตัวนี้จะมีผลโดยตรงต่อสิ่งที่จะทำการแสดงบนหน้าจอมอนิเตอร์ของเราในระหว่างที่เรากำลังใช้งานคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะมี GPU
ติดตั้งอยู่ภายในเมนบอร์ดอยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งการ์ดจอเพิ่มเข้ามา
แต่ถ้าหากว่าเราชอบที่จะเล่นเกมส์ที่เน้นในเรื่องของกราฟฟิตสูงๆ เราสามารถติดตั้งการ์ดจอนี้เพิ่มเติมได้
Sound Card – “การ์ดเสียง”
ที่มีผลต่อสิ่งที่ส่งออกมาจากคอมพิวเตอร์โดยเราจะได้ยินผ่านทางลำโพงหรือเฮดโฟน
เมนบอร์ดส่วนใหญ่มีซาวน์การ์ดติดมาด้วยอยู่แล้ว
แต่เรายังสามารถปรับเปลี่ยนการ์ดเสียงนี้เพื่อคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นตามความต้องการของเราได้
Network Card – ช่วยให้คอมพิวเตอร์ของเราสามารถติดต่อกับเครือข่ายเน็ตเวิร์คและเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้
มันสามารถเชื่อมต่อได้ด้วยสายเคเบิ้ลหรือผ่านทางสัญญาณแบบไร้สาย (Wi-Fi) ก็ได้ แน่นอนว่าส่วนประกอบนี้ก็เป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่ติดตัวเมนบอร์ดมาตั้งแต่แรกด้วยเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น