ส่วนประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะนั้น
ประกอบไปด้วย เคสคอมพิวเตอร์ หน้าจอมอนิเตอร์ คีย์บอร์ด เมาส์ และ
ส่วนประกอบอื่นที่ไม่ได้กล่าวไว้
ส่วนประกอบแต่ละส่วนนั้นก็ย่อมมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ของเราทั้งสิ้น
Computer
Case
เคสคอมพิวเตอร์จะทำขึ้นจากพลาสติกและเหล็กมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม
โดยภายในเคสนี้จะมีการบรรจุส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์เอาไว้ เช่น เมนบอร์ด หน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์หรือซีพียู
พาวเวอร์ซัพพลาย ฯลฯ
เคสคอมพิวเตอร์นั้นจะมีอยู่หลายขนาดหลายรูปทรงแตกต่างกันออกไป
เดสก์ท็อปเคสจะเป็นกล่องแบบที่วางแบนราบกับพื้นโดยมีหน้าจอมอนิเตอร์วางอยู่ด้านบนเคสนั้น
ส่วนทาวเวอร์เคสหรือเคสปกติทั่วไปที่เราคุ้นตากันดีจะเป็นกล่องที่ค่อนข้างสูง
นิยมวางไว้ข้างๆหนาจอมอนิเตอร์หรือวางไว้กับพื้นด้านล่างของโต๊ะคอมพิวเตอร์ ด้านหน้าของเคสนั้นมักจะมีปุ่มสำหรับเปิดเครื่องและช่องสำหรับต่อไดรฟ์เป็นพกพา
ปัจจุบันนี้
คอมพิวเตอร์ที่เราทำการซื้อมานั้นมักจะประกอบด้วยเคสแบบกล่องตั้งแทนที่จะเป็นเคสแบบเดสก์ท็อป
อย่างไรก็ตาม มันยังมีคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้ไม่มีเคสเป็นส่วนประกอบ โดยส่วนประกอบในเคสนั้นจะถูกนำไปรวมอยู่ภายในจอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น
ในบางครั้งอาจเรียกว่า “all-in-one” คอมพิวเตอร์
Monitor
มอนิเตอร์ทำงานด้วยวิดีโอการ์ดที่บรรจุอยู่ภายในเคสของเครื่องคอมพิวเตอร์
มันมีความสามารถในการแสดงภาพและข้อความออกมาบนหน้าจอ จอมอนิเตอร์รุ่นใหม่มักจะเป็นหน้าจอแบบ
LCD
(Liquid Crystal Display) หรือ LED (Light Emitting Diode) ซึ่งหน้าจอสองประเภทนี้จะมีลักษณะค่อนข้างบาง
ในบางครั้งอาจเรียกทั้งสองประเภทนี้รวมกันว่า “จอแบน”
ส่วนมอนิเตอร์รุ่นเก่าๆมักจะเป็นแบบ CRT (Cathode Ray Tube) ซึ่งมีลักษณะที่ใหญ่และค่อนข้างหนักเอาการ
รวมไปทั้งมันยังใช้งานพื้นที่ดิสก์มากขึ้นอีกด้วย
มอนิเตอร์ส่วนใหญ่จะมีปุ่มสำหรับปรับการแสดงผลต่างๆของหน้าจอตรงหน้า
บางครั้งเราอาจปรับได้ผ่านทางหน้าจอโดยตรงเมื่อทำการใช้คอมพิวเตอร์
หน้าจอบางรุ่นยังมีลำโพงติดอยู่ด้วย
Keyboard
คีย์บอร์ดเป็นเครื่องมือหลักที่เราใช้ในการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์รวมทั้งป้อนข้อมูลต่างๆเข้าไป
มันมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน ทั้งแป้นคีย์บอร์ดสำหรับต่อสาย คีย์บอร์ดแบบไวร์เลส
คีย์บอร์ดที่มีรูปทรงแบบนูนเว้าโดยการออกแบบเพื่อคำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้ใช้ ฯลฯ
แม้ว่าคีย์บอร์ดแต่ละแบบจะมีรูปร่างแตกต่างกันออกไป
แต่ทว่าปุ่มกดบนแป้นพิมพ์ของทุกแบบนั้นล้วนแล้วแต่มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันทั้งสิ้น
Mouse
เมาส์เป็นส่วนประกอบที่เราต่างรู้จักกันในสิ่งที่เรียกว่า
“ลูกศรสำหรับชี้” เมาส์ทำหน้าที่ควบคุมลูกศรบนหน้าจอมอนิเตอร์ของเราพร้อมทั้งช่วยเลื่อนลูกศรนั้นไปยังที่ต่างๆ
มันช่วยให้เราสามารถคลิกและเคลื่อนสิ่งต่างๆบนหน้าจอของเรา
เมาส์มีอยู่ด้วยกัน 2
แบบที่แตกต่างกัน นั่นก็คือ ออปติคอล (Optical) กับ ลูกกลิ้ง
(Mechanical)
โดยเมาส์แบบออปติคอล(ปัจจุบันพัฒนามาจนเป็น
“เมาส์เรเซอร์”) จะประกอบไปด้วยตัวเซ็นเซอร์ด้านใต้คอยตรวจจับทิศทางการเคลื่อนไหวของเมาส์ก่อนจะส่งผลลัพธ์ต่อไปยังคอมพิวเตอร์
ส่วนเมาส์แบบลูกกลิ้งจะประกอบไปด้วยลูกบอลกลมที่สามารถหมุนได้อย่างอิสระด้านล่างเมาส์
เมื่อเราทำการเคลื่อนเมาส์ลูกกลิ้งนั้นจะถูกจับทิศทางพร้อมทั้งนำไปแสดงผลบนหน้าจอของเรา
โดยทั่วไปแล้ว
เมาส์จะต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้ USB หรือ PS/2 แต่ปัจจุบันนี้ เรายังสามารถซื้อเมาส์แบบไร้สายมาต่อใช้งานได้เพื่อหลีกเลี่ยงความเกะกะในเรื่องของสายของเมาส์ที่ต่อเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น